เครื่อง Printer
![]() |
วิวัฒนาการของเครื่องพิมพ์ (Printer)
วิวัฒนาการในการ ผลิตพรินเตอร์มีมานาน
เริ่มจากยุคแรก ๆที่พรินเตอร์สามารถ พิมพ์ได้แค่สีเดียวคือ ขาวดำ ซึ่งมีการมองว่า มันเป็นอุปกรณ์ที่ดัดแปลง
มาจากเครื่องพิมพ์ดีด เพราะมันมีการใช้แถบหมึก เหมือนเครื่องพิมพ์ดีด
ซึ่งแถบหมึกนี้ จะประทับรอยลงไปบน แผ่นกระดาษ เมื่อถูกเหล็กพิมพ์ดีดไปกระทบเข้า
สำหรับเครื่องพิมพ์หรือพรินเตอร์ระบบดังกล่าว ที่มีการใช้งานแพร่หลายมากที่สุดก็คือ
dot matrix ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง
ข้อเสียที่เด่นชัด ของบรรดาพรินเตอร์รุ่นแรก
ๆเหล่านี้ก็คือ การมีเสียงดัง ซึ่งได้มีการพัฒนา ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในภายหลัง
เมื่อมีการนำเอาเครื่องพรินเตอร์ ไปใช้งานในสำนักงาน และบ้านเรือนมากขึ้น
ซึ่งความเงียบนับเป็นสิ่งสำคัญ ในการพิมพ์งานในสถานที่เหล่านั้น เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่
ที่มีความเงียบมากขึ้นในการพิมพ์ก็คือ เครื่องพิมพ์ระบบ melting wax หรือ ที่บางครั้งก็เรียกว่า
thermal wax, เครื่องพิมพ์ระบบ heating dye หรือที่บางครั้งก็เรียกว่า thermal dye printers, เครื่องพิมพ์ระบบ
spitting ink หรือที่นิยมเรียกกันว่า เครื่องอิงค์เจ็ท
รวมทั้งเครื่องพิมพ์ระบบฉายแสง หรือที่รู้จักกันดีว่าเลเซอร์พรินเตอร์นั่นเอง โดยหลักการแล้วพรินเตอร์เหล่านี้
จะทำงานคล้ายกับเครื่องระบบdot matrix เพียงแต่ว่าจุดของหมึกนั้นจะเล็กกว่ามาก
และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเครื่องพิมพ์รุ่นแรก ๆในกลุ่มนี้จะมีค่าความคมชัดราว
300 คูณ 300 จุดหรือdotต่อนิ้ว (dpi) ทั้งนี้ ค่าความคมชัดดังกล่าวนี้
ก็ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆในหลายปีที่ผ่านมา และ ในปัจจุบันนี้เครื่องพิมพ์รุ่น
600 dpi ได้รับการพิจารณาว่า เป็นมาตรฐานการพิมพ์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป
ในวันนี้ เครื่องพรินเตอร์สามารถ พิมพ์งานได้ตามรูปแบบ หรือฟอนต์ของตัวอักษร
ตรงตามที่เราได้เห็นบนจอภาพ โดยมันสามารถพิมพ์ข้อความได้อย่างคมชัด
เทียบเท่ากับเครื่องพรินเตอร์ ระดับมืออาชีพ นอกจากนั้น มันยังสามารถ พิมพ์ภาพกราฟิกสี
ที่สวยงาม เพื่อการนำเสนอในโอกาสต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีบางรุ่นที่สามารถพิมพ์ภาพถ่าย
ได้ใกล้เคียงกับภาพ ที่อัดจากฟิล์มจริงๆ จนแทบจะแยก กันไม่ออกอีกด้วย
ประเภทของเครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพิมพ์
เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตขนานที่มีขนาด 25 พิน เพื่อทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการ ประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักษร หรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์ (Dot Matrix Printer)
เครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์นี้ใช้หลักการสร้างจุดลงบนกระดาษโดยตรงหัวพิมพ์ของ เครื่องพิมพ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม
(pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ
หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น
เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดความคมชัดของข้อมูลบน
กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น
เครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์
เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้
กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะยัง
คงมีใช้อยู่ตามองค์กรราชการ
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
เครื่องพิมพ์พ่นหมึก
สามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันมากๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์
เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นเป็น การพ่นหมึกหยดเล็ก
ๆ ไปที่กระดาษ
หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามความต้องการ การพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์แบบซ้อนแผ่นก๊อปปี้ไม่ได้
แต่มีความสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วและเสียงไม่ดัง
มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการพิมพ์เป็นหน้าต่อนาที PPM (Page Per Minute) ความสามารถของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ถูกพัฒนามาให้มีประสิทธ์ขึ้นเลื่อยๆ นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน
แต่ต้องมีกระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นปัจจัยด้วยเช่นกัน
ณ ปัจจุบัน (2545)
ความสามารถของเครื่องพิมพ์เน้นสูงสุดถึง 4800x1200 dpi (Dot per inch)
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์ชนิดนี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตเบบเดียวกันกับเครื่อง
ถ่ายเอกสารทั่วไปโดยลำแสง จากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง
ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกวาดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว
สารเคลือบที่อยู่บนลูกกลิ้งจะ ไปทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุเมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง
ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลาย ติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างถูกต้อง
ทำให้ความละเอียดของจุดภาพบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ภาพ และตัวหนังสือที่คมชัดสวยงาม
การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์เสียงจะไม่ดัง
4. พล็อตเตอร์ (plotter
พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษที่ทำมาเฉพาะงานเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม
และงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ
พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Second : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ
กระดาษที่ใช้พิมพ์
กระดาษที่ใช้พิมพ์นั้นจะถูกเรียกตามนำหนักเช่น 70 แกรมนั้นคือ 70 เป็นแกรมต่อตารางเมตรซึ่งสามารถแบ่งได้ตามการใช้งานดังนี้
กระดาษที่ใช้พิมพ์
กระดาษที่ใช้พิมพ์นั้นจะถูกเรียกตามนำหนักเช่น 70 แกรมนั้นคือ 70 เป็นแกรมต่อตารางเมตรซึ่งสามารถแบ่งได้ตามการใช้งานดังนี้
·
Plain
Paper เป็นกระดาษทั่วไปที่มีตามร้านเครื่องเขียน
มีขนาดที่นิยมใช้ คือ 70 หรือ 80 แกรม
- กระดาษมัน Glossy Paper เป็นกระดาษมัน มีขนาดเริ่มต้นที่ 90 แกรม รองรับการพิมพ์ที่ 1440 dpi - 2880 dpi โดยน้ำหมึกจะไม่ซึมไปด้านหลังกระดาษ
- กระดาษแบบด้าน Matte Finish Paper ไว้สำหรับพิมพ์ภาพกราฟฟิก มีคุณสมบัติกันน้ำ ไม่สะท้อนแสง
·
กระดาษโฟโต้ Photo Paper ใช้กับการพิมพ์ภาพถ่ายที่มาจากกล้องดิจิตอล มีความหน้าและกันน้ำได้ รองรับความระเอียดถึง
2880 dpi
การเลือกซื้อ Printer
สำหรับในการเลือกซื้อ
พรินเตอร์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบกัน
ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กัน
ในการเลือกซื้อตรงนี้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด
คือเกิดความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปแต่ที่แน่ ๆ
สิ่งแรกควรพิจารณาจากการใช้งานเป็นหลักว่า
ผู้ใช้ต้องการพรินเตอร์ไปใช้งานประเภทใดเป็นส่วนใหญ่
เพราะพรินเตอร์แต่ละรุ่นเน้นการทำงานที่ต่างกันในตลาดเมืองไทยของเรามี
พรินเตอร์ให้เลือกซื้ออยู่มากมายหลายรุ่น
หลากหลายประเภทโดยแต่ละรุ่นก็มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของราคา
การใช้งาน
ส่วนในประเภทของพรินเตอร์นั้นที่เห็นอย่างชัดเจนในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันถึง
4 ประเภท
เนื่องจากพรินเตอร์มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ มีการเพิ่มเติมเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
การใช้งานมีความหลากหลายมากขึ้นจนตอนนี้เครื่องพรินเตอร์ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องพิมพ์ธรรมดาไปเสียแล้ว
เช่น ในบ้างรุ่นสามารถพิมพ์งานด้านกราฟิกที่มีความละเอียดสูงๆ พิมพ์ภาพถ่ายได้แล้ว
จากประเภทของพรินเตอร์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้นแบ่งได้ดังนี้ครับ
ประเภท Dotmatix เหมาะสมสำหรับห้างร้าน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือผู้ใช้ที่ต้องการเครื่องพรินเตอร์ที่สามารถทำสำเนาได้
พรินเตอร์ประเภท Dotmatix นี้
การพิมพ์โดยใช้หัวเข็มครับ
ไม่ได้ใช้เป็นหัวพ่นจึงไม่จำเป็นจะต้องซื้อน้ำหมึกแต่ต้องซื้อผ้าหมึกแทน
คล้ายๆกับเครื่องพิมพ์ดีดแบบปกติทั่วไป
ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเงินค่าซื้อน้ำหมึกไปได้มาก
เนื่องจากผ้าหมึกมีอายุการใช้งานสูงกว่าใช้น้ำหมึกมากหลายเท่า
เหมาะกับการใช้งานในสำนักงานที่ต้องการใช้พิมพ์เพียงเอกสารแบบปกติ
อย่างพวกใบเสร็จต่างๆ
และงานพิมพ์ทั่วไป ในด้านการใช้งานตัวเครื่องมีความยืดหยุ่นสูง
สามารถใช้ได้กับกระดาษหลายประเภท
ในการเลือกซื้อพรินเตอร์ประเภทนี้เรื่องความละเอียดในการพิมพ์เรามองข้ามไป
ได้เลยครับเพราะปกติของพรินเตอร์
Dotmatix ค่าความละเอียดสูงสุดแล้วอยู่ที่ 360x360 จุดต่อตารางนิ้วทั้งหมด (ที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดบ้านเราครับ)
จำนวนหัวเข็มของเครื่องพิมพ์จะมีตั้งแต่ 24 หัวเข็ม 32
หัวเข็ม
ยิ่งจำนวนหัวเข็มมากก็จะทำให้งานที่พิมพ์ออกมามีความละเอียดขึ้น ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรมีตั้งแต่
192 ต่อCPS, 240, 264, 300, 360, 375, 390, 400, 432,
450 จนถึง 504 ต่อCPS (CPS คือ ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรต่อนิ้ว) เห็นได้ว่าเพียงความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรก็มีให้เลือกมากแล้ว
ส่วนนี้คงอยู่ที่ความพอใจของผู้ซื้อเองว่าจะเลือกความเร็วที่เท่าไรค่าความต่างในการพิมพ์ไม่ได้ต่างกันมากเพียงไม่กี่วินาทีต่อแผ่น
¦ ประเภท
Inkjet เหมาะสมสำหรับการใช้งานโดยรวม
สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพที่เป็นขาว-ดำ และสีได้
พรินเตอร์ประเภท Inkjet เป็นประเภทที่เหมาะสมกับผู้ใช้ทั่วไปทุกระดับตั้งแต่นักเรียน
นักศึกษา ไปจนถึงสำนักงานใหญ่ ๆ
และกำลังได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดบ้านเราขณะนี้ เนื่องจากมีราคาตั้งแต่ไม่กี่พันบาท
ไปจนถึงหลักหมื่นเลยที่เดียวสำหรับการเลือกซื้อเครื่องประเภทนี้จำเป็นต้องดูอะไรหลายๆอย่างประกอบกันเหมือน
เดิมครับว่าต้องดูการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลักว่าต้องการใช้เครื่องพรินเตอร์ประเภทนี้เน้นในด้านใดเป็นหลัก
อันนี้ก็สืบเนื่องมาจากว่าเครื่องพรินเตอร์ประเภทนี้มีขายในตลาดบ้านเรามากมายหลายรุ่นจริงๆ
ในแต่ละรุ่นมีการทำงานที่แตกต่างกันหลายอย่างเลยทีเดียว คือมีจุดเด่นที่แตกต่างกันนั้นเอง
พรินเตอร์ประเภทInkjet พิมพ์
งานโดยใช้ตลับน้ำหมึก
เวลาเลือกซื้อต้องดูด้วยว่ารุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกแบบไหนรุ่นอะไร
ตลับสีและดำ ราคาเท่าไรแต่ละแบรนด์ราคาตลับหมึกถูกบ้างแพงบ้างต่างกันไป
อย่างบางรุ่นราคาพรินเตอร์ไม่แพงมากแต่ราคาตลับเป็นพันบาทก็มี
ตรงส่วนนี้ต้องดูให้ละเอียดครับ
เรื่องของคุณภาพของน้ำหมึกมีขอแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยบ้างรุ่นตลับสีแบบรวม
ไม่ได้แยกเป็นสี
ตรงจุดนี้แบบรวมจะมีข้อเสียเล็กน้อยที่ถ้าตลับสีแบบรวมสีหนึ่งสีใดหมดต้อง
เปลี่ยนทั้งตลับเลย
ไม่เหมือนกับแบบแยกสีที่ถ้าสีใดหมดก็เปลี่ยนเพียงสีนั้นสีเดียวได้แต่
ปัจจุบันรุ่นใหม่ๆที่ใช้ตลับหมึกสีแบบรวมมีเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้น้ำหมึกสี
หมดแบบพอ
ๆ กัน เพื่อนำมาแก้ปัญหาตรงจุดนี้
หากผู้ใช้เน้นทำงานกราฟิกเป็นส่วนใหญ่ขอแนะนำให้ใช้พรินเตอร์ที่มีตลับหมึก
สีแยกจะดีกว่าเพราะจะประหยัดกว่ามากครับ
ส่วนผู้ใช้ที่เน้นการทำงานปกติ มีพิมพ์ภาพบ้างใช้แบบตลับหมึกสีรวมก็พอแล้ว
ต่อไปก็เป็นค่าความละเอียดของตัวเครื่องให้เลือกที่ความเหมาะสมดูไปแล้วเมื่อเทียบกับในปัจจุบันคงต้องเลือกค่าความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200x1200 จุดต่อตารางนิ้ว
สำหรับผู้ที่ใช้งานปกติ ตรงนี้ไม่ใช่ว่าความละเอียดต่ำกว่านี้จะไม่ดีนะครับ แต่เพื่อการทำงานในอนาคตและราคาก็แตกต่างกันเล็กน้อย
สำหรับผู้ที่ทำงานกราฟิก ออกแบบน่าจะเลือกความละเอียดประมาณ 4800x1200 จุดต่อตารางนิ้ว ขนาดช่องใส่กระดาษก็ปกติ A4 หากมีทุนหน่อยก็เลือกเครื่องที่ใส่กระดาษขนาด
A3 ได้ไปเลย ส่วนช่องพอร์ตจะมีตั้งแต่ Parallel, USB
1.1/2.0 ให้เลือกที่เป็น USB ครับเพราะการรับส่งข้อมูลจะเร็วกว่าแบบParallel
เรื่องราคาอยู่ที่ความพอใจเลยครับ ราคาถูกประสิทธิภาพการทำงานต่างก็ลดลงเช่นกัน
ถ้าต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงก็ลงทุนหน่อยนะครับ สำปัจจุบันนี้เครื่องพรินเตอร์แบบ
Inkjet สามารถจะพิมพ์รูปภาพจากกล้องดิจิตอลโดยตรงได้โดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือสามารถอ่านสื่อบันทึกข้อมูลแบบ Memory Stick, Multimedia Card(MMC),
Secure Disk(SD), Compact Flash (CF) และ XD เหมาะสำหรับหรับผู้ใช้ที่มีกล้องดิจิตอลอยู่แล้วต้องการเครื่องพรินเตอร์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้
บางรุ่นก็มีหน้าจอบนตัวเครื่องทำให้สามารถเลือกดูภาพจากตัวเครื่องพรินเตอร์ได้ก่อนที่จะพิมพ์
บางรุ่นก็ไม่มีแต่ก็สามารถดูภาพที่ตัวกล้องแทนได้ ในส่วนกระดาษที่ใช้ถ้าเป็นการพิมพ์เอกสารธรรมดาประเภท
Word, Excel ควรจะใช้กระดาษที่ใช้ควรจะเป็นกระดาษที่มีความหนา
80 แกรมขึ้นไปครับ
เพราะความหนาของกระดาษจะช่วยให้ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาอีกความคมชัดด้วย
ถ้าเป็นการพิมพ์รูปภาพ ควรจะใช้กระดาษโฟโต้เหมาะที่สุดครับ
คุณภาพในด้านสีและความละเอียดที่ออกมาจะทำให้สามารถแสดงสีได้ไม่ผิดเพี้ยน
มากเกินไป
¦ ประเภท Laser เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกันในผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความละเอียด
สำนักงานขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีงานเอกสารปริมาณที่มาก
สำหรับพรินเตอร์ประเภท
Laser นับว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยในตลาดบ้านเราเมื่อเทียบกับการทำงานทั่วไปของพรินเตอร์ประเภทนี้กับเครื่องพรินเตอร์ประเภท
Inkjet จุดแตกต่างที่เห็นกันอย่างชัดเจนคงต้องเป็นในเรื่อง
ของปริมาณการพิมพ์ที่พรินเตอร์ประเภทเลเซอร์
สามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า ใส่กระดาษได้มาก
รวดเร็วกว่าในการพิมพ์ในจำนวนมากๆ มีความคมชัดสูงทั้งพิมพ์สี
ขาวดำและยังสามารถแชร์การทำงานกับผู้ใช้หลายคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
ประเภทอื่น
ในปัจจุบันนี้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์พรินเตอร์ได้มีการนำออกมาวางจำหน่ายกัน
มากมายหลายรุ่น
โดยในแต่ละรุ่นก็จะมีประสิทธิภาพและฟังก์ชันในการทำงานที่แตกต่างกันไป
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อเลเซอร์พรินเตอร์ที่เหมาะสมกับ
ลักษณะงานและปริมาณงานในองค์กรของตนให้มากที่สุด
ส่วนในเรื่องของราคานั้นอาจจะมีราคาสูงนิดหน่อย แต่ก็คุ้มค่าครับ
กับประสิทธิภาพที่ดีกว่ามีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง
ส่วนในการเลือกซื้อควรดูที่ฟังก์ชันการทำงานเป็นหลักว่าเหมาะสมกับงานของเรา
หรือเปล่า
ถ้ามีฟังก์ชันมากก็จะทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น
สำหรับในการทำงานร่วมกันหลายคน
|
|
|
|
|
ใน
ด้านความละเอียดของตัวเครื่องก็ดูที่ความเหมาะสมกับงาน
แนะนำว่าพรินเตอร์เลเซอร์เหมาะมากสำหรับการใช้งานในสำนักงาน
ดูจะไม่เหมาะเท่าไรนักถ้าจะซื้อมาใช้งานส่วนตัวเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่อง
ประเภทนี้เน้นสนับสนุนระบบเน็ทเวิร์กเป็นหลักครับ Laser พรินเตอร์ก็ยังไม่ทั้งขาว-ดำ
และสี ในด้านความละเอียดของเครื่อง Laser มีความละเอียดทั้งแต่
600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว ไปจนถึง 1200 x 1200 จุดต่อตารางนิ้ว ความเร็วในการพิมพ์ก็มีส่วนสำคัญครับ
ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Laser ก็สามารถพิมพ์ในโหมดขาว
- ดำได้ตั้งแต่ 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนโหมดสีตั้งแต่ 6
แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ต่อมาก็มาดูที่หน่วยความจำของเครื่องพรินเตอร์
ส่วนใหญ่ใน Laser พรินเตอร์จะติดตั้งหน่วยความจำตั้งแต่ 8
MB, 16 MB, 32 MB ไปจนถึง 96 MB แต่ก็สามารถเพิ่มเติมได้อีก
ยิ่งมีหน่วยความจำมากเท่าไหร่ก็จะทำให้เครื่องพิมพ์สามารถประมวลผล และรับงานในปริมาณที่มาก
หัวพิมพ์งานออกมาได้รวดเร็วขึ้น ลำดับต่อมาเป็นการเชื่อมต่อมีตั้งแต่ Parallel,
USB 1.1/2.0, Ethernet ในส่วนนี้แล้วแต่ผู้ใช้ครับ
แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ที่เป็นการเชื่อมต่อแบบ USB 1.1/2.0 ดี
กว่าครับ
เพราะจะทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วกว่าแบบอื่น
โทนเนอร์ก็มีส่วนสำคัญครับ
ถ้าราคาโทนเนอร์แพงก็ไม่คุ้มค่าที่จะใช้งานต้องระมัดระวังในส่วนนี้ด้วย
กระดาษที่ใช้กับเครื่อง Laser สามารถใช้กระดาษขนาด A4
บางรุ่นก็สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A3 ได้
ส่วนถาดใส่กระดาษใน Laser บางรุ่นสามารถเพิ่มถาดกระดาษได้
เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณเอกสารมาก ไม่ต้องกังวลว่าปริมาณกระดาษจะพอไหม
ในส่วนการใช้งาน Laser พรินเตอร์แบบขาว- ดำเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นงานเอกสารเป็นหลัก
ไม่ต้องการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความที่เป็นสี
ทำให้ได้ตัวอักษรที่คมชัดกว่าเครื่องพรินเตอร์ Inkjet หลายเท่า
ส่วน Laser พรินเตอร์แบบสีเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นงานด้านรูปภาพ
แต่ก็มีงานด้านเอกสารด้วย
¦ ประเภท
Multifunction น้องใหม่ที่ออกมาพร้อมอุปกรณ์ทำงานที่ครบเครื่องทั้ง พิมพ์ สแกน ก๊อปปี้
และส่งแฟกซ์คุ้มค่ากับราคาที่น่าลอง
ก่อน
อื่นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับอุปกรณ์นี้กันก่อน
สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันหรือออลอินจะเป็นการนำเอาความสามารถและฟังก์ชัน
การทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงหลัก
ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างครบชุด ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องพรินเตอร์
เครื่องสแกนเนอร์
เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องแฟกซ์
แต่สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชั่นในบางรุ่นอาจจะไม่ได้รวมเอาเครื่องแฟกซ์มา
ด้วยก็ได้
แต่หลัก ๆ อย่างไรก็สามารถพิมพ์งาน สแกน และถ่ายเอกสารได้ครับ
ส่วนการทำงานของเครื่องมัลติฟังก์ชันมีการพัฒนาในเรื่องของการทำงานให้มีการ
ทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มที่มากขึ้น
อย่างที่เราจะเห็นได้จากฟังก์ชันในการถ่ายเอกสารนั่นเองซึ่งจะเป็นการประสาน
งานในการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องสแกนเนอร์กับพรินเตอร์
นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มฟังก์ชันในการสั่งงานบางอย่างที่จะช่วยให้การถ่าย
เอกสารทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วย
อย่างเช่น การย่อหรือขยายเอกสาร การทำสำเนา
หรือจะเป็นการปรับเลือกโหมดการถ่ายเอกสารสีหรือการถ่ายเอกสารขาว-ดำได้
เป็นต้น
ส่วนเครื่องมัลติฟังก์ชันที่มีแฟกซ์ในตัวเราจะสังเกตได้จากแผงควบคุมที่จะมี
ปุ่มสำหรับกดเลขหมายโทรศัพท์ได้
สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เหมาะสำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันนี้จะมีทั้ง
กลุ่มธุรกิจองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง
โฮมออฟฟิศ และกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้าน
ซึ่งสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้านนั้นในตอนนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น
เรื่อย
ๆ
เพราะทางผู้ผลิตทั้งหลายต่างก็ได้ส่งเครื่องมัลติฟังก์ชันราคาประหยัดลงมาทำ
ตลาดกัน
ซึ่งจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณสี่พันกว่าบาทเท่านั้น
และเมื่อลองเทียบกันกับการซื้อพรินเตอร์และสแกนเนอร์แบบแยกชิ้นแล้ว
จะเห็นได้ว่ามีราคาต่างกันไม่มาก
แต่เมื่อดูถึงจุดเด่นของมัลติฟังก์ชันที่ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งกว่า
และสามารถถ่ายเอกสารทั้งสีทั้งขาว-ดำได้แล้วถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่า
สนใจทีเดียว
|
|
|
|
|
ใน
การเลือกซื้อเครื่องมัลติฟังก์ชันเราจะอาศัยหลักการเลือกซื้อแบบแยกชิ้นอาจ
จะไม่ได้
เพราะในการเลือกซื้อแบบแยกชิ้นอย่างการซื้อพรินเตอร์สักเครื่องเราอาจจะ
พิจารณาจากความละเอียดในการพิมพ์เป็นอันดับต้น
ๆ ก็ได้
แต่สำหรับการซื้อมัลติฟังก์ชันนั้นต่างกันเนื่องจากมัลติฟังก์ชันเป็น
อุปกรณ์แบบรวมชิ้น
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราคาดหวังว่าในการพิมพ์ต้องมีความละเอียดเท่านี้
สแกนเนอร์ต้องสแกนงานได้ที่ความละเอียดเท่านี้นั้นเป็นเรื่องที่กำหนดได้ยาก
ถ้าให้ดีเราควรเลือกซื้อตามความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานเป็นหลักดี
กว่า
อย่างเช่นถ้าที่ออฟฟิศของคุณมีเครื่องแฟกซ์อยู่แล้วก็ควรเลือกซื้อเครื่อง
มัลติฟังก์ชันแบบที่ไม่มีแฟกซ์ในตัวมาใช้
ซึ่งราคาส่วนต่างระหว่างรุ่นที่มีแฟกซ์กับไม่มีแฟกซ์จะต่างกันค่อนข้าง
มากอยู่ ส่วนในเรื่องของความละเอียดในการพิมพ์และการสแกนงานนั้น
ในการเลือกซื้อให้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานด้วยอย่างถ้ามีความจำเป็นต้องมี
การใช้งานเกี่ยวกับด้านกราฟิกบ้าง
เครื่องมัลติฟังก์ชันที่มีความละเอียดสูง ๆ ก็จะเหมาะสมกับงานแบบนี้มากกว่า
หรือถ้าหากมีการใช้งานการพิมพ์หรือการสแกนที่ต้องการความละเอียดสูงจริง
ๆ หรือมีการใช้งานเป็นประจำ อันนี้ควรจะเลือกซื้อแบบแยกชิ้นไปเลยดีกว่า
เพราะในการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงนั้นอุปกรณ์แบบแยกชิ้นย่อมทำงานได้ดีกว่า
เสมอ
เราต้องอย่าลืมว่า
เครื่องมัลติฟังก์ชันนั้นถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก
และเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานให้มากขึ้นครับ
แต่ถ้าจะเลือกซื้อมัลติฟังก์ชันความละเอียดมีตั้งแต่ 600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว,
1200 x 1200 ตารางนิ้ว ความสามารถในการพิมพ์ขาว-ดำ 12 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป พิมพ์สี 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป
ส่วนความละเอียดในการสแกนตั้งแต่ 600 x 1200 จุดต่อตารางนิ้ว
ยิ่งมากยิ่งสแกนได้ความละเอียดสูงครับ จำนวนบิตสีก็สำคัญส่วนใหญ่จะประมาณ 48
บิตสี บางรุ่นยังสามารถสแกนแล้วย่อ – ขยายได้ตั้งแต่
25% - 400% ในส่วนนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมครับ หน่วยความจำในเครื่องมัลติฟังก์ชันก็สำคัญควรจะมีประมาณ
16 MB ขึ้นไปครับ จะได้ช่วยประมวลผลในการพิมพ์ได้เร็วขึ้น
การเชื่อมต่อสามารถเลือกได้ว่าต้องการแบบใด Parallel, USB 1.1/2.0,
FireWire และ Ethernet ขอแนะนำให้ใช้ USB
1.1/2.0 เพราะราคาไม่สูงมากนัก
แต่ถ้าต้องการความเร็วในส่งข้อมูลที่สูงขึ้นแนะนำ FireWire ครับ
ฟังก์ชันในการใช้งานในตอนนี้มัลติฟังก์ชันมีสามารถในการพิมพ์ภาพจากกล้องดิจิตอล หรือสื่อบันทึกข้อมูล
Memory Stick, Multimedia Card(MMC), Secure Disk(SD), Compact Flash(CF) และ XD
ประเภทองเครื่องพรินเตอร์สำหรับงานแต่ละประเภท
|
|
สำหรับงานพิมพ์เอกาสารธรรมดา ขาว-ดำที่ต้องการสำเนา
|
เครื่องดอตเมตริกซ์พรินเตอร์( Dot Matrix Printer)
|
สำหรับงานพิมพ์เอกสารธรรมดาขาว-ดำ และสี รูปภาพ
ภาพถ่าย
|
เครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ (Inkjet Printer)
|
สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความรวดเร็ว คมชัด
|
เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ขาว-ดำ (Mono Laser Printer)
|
สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความรวดเร็ว คมชัด
และต้องการพิมพ์สี
|
เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์สี (Color Laser Printer)
|
สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการพิมพ์เอกสารธรรมดาขาว-ดำ
และสี พร้อมด้วยการสแกน ทำสำเนา และส่งแฟกซ์
|
เครื่องมัลติฟังก์ชัน (Multifunction Printer)
|
หลักการทำงานของเครื่อง Printer
หลักการทำงานของเครื่อง
Printer ในส่วน ของ Dot Matrix
o การทำงานของระบบจ่ายไฟแบบ
Switching ของ Printer ทุกรุ่น
- การทำงานของระบบควบคุมแรงดันไฟขนาด +35V และ +42V
- การทำงานของวงจรระบบ Reset บนเครื่อง Printer ทุกรุ่น
- รายละเอียดวงจรการทำงานของไมโครโปรเซสเซอร์ ของ Printer ทุกรุ่น
- การทำงานของวงจรขับเคลื่อน Motor เลื่อนหัวพิมพ์ ของ Printer ทุกรุ่น
- การทำงานของวงจรขับเคลื่อน Motor ป้อนกระดาษ ของ Printer ทุกรุ่น
- วงจรแจ้งเตือนการทำงานของระบบ
- วงจรแผงควบคุมหน้าปัดเครื่อง Printer ทุกรุ่น
- การทำงานของวงจรขับเคลื่อนหัวเข็ม ของ Printer ทุกรุ่น
- ระบบควบคุม SP/LF Motor
- การทำงานของวงจรควบคุม Sensor แบบต่างๆ ของ Printer ทุกรุ่น
- การทำงานของกลไกต่างๆของเครื่อง Printer
- ส่วนประกอบของหัวพิมพ์
- กลไกที่ใช้ขับเคลื่อนหัวพิมพ์และผ้าหมึก
- กลไกที่ใช้ขับเคลื่อน Motor ที่ป้อนกระดาษ
- ระบบควบคุมการ Load กระดาษโดยอัตโนมัติ
- การตรวจซ่อมเครื่อง Printer Dot Matrix
- รายการที่จะต้องตรวจสอบก่อนลงมือซ่อม
- วิธีการทำ Self Test สำหรับเครื่อง Printer ยี่ห้อและรุ่นต่างๆ
- EPSON / OKIDATA / NEC
- วิธีการถอดและประกอบเครื่องพิมพ์รุ่นต่างๆ
- จุดและวิธีการทำความสะอาดสำหรับเครื่อง Printer รุ่นต่างๆ
- วิธีการวิเคราะห์อาการเสียต่างๆของ เครื่อง Printer
- การใช้ Oscilloscope ตรวจวัดและหาจุดเสียส่วนที่เกี่ยวข้องกับวงจรต่างๆ
- การตรวจซ่อมปัญหาหัวพิมพ์
- การตรวจซ่อมปัญหาระบบการขับเคลื่อนหัวพิมพ์
- การตรวจซ่อมปัญหาการป้อนกระดาษ
- การตรวจซ่อมปัญหาการเลื่อนของแถบผ้าหมึก
- การตรวจซ่อมปัญหาคุมภาพของการพิมพ์
- การตรวจซ่อมระบบจ่ายไฟ Switching
- วิธีการวิเคราะห์หาจุดเสียจากเสียงของ Buzzer และ รหัส Error ต่างๆบนเครื่องพิมพ์ Dot Matrix ทุกยี่ห้อแลละทุกรุ่น
- วิธีการปรับแต่งเครื่อง Printer หลังจากการตรวจซ่อม
·
ส่วนประกอบและข้อควรระวังในการบำรุงรักษาเครื่อง
Printer รุ่นต่างๆ
หลักการทำงานของเครื่อง Printer ในส่วนของ Desk Jet หรือ Ink Jet
·
ส่วนประกอบและโครงสร้างของระบบการพิมพ์แบบ
Ink Jet
- ระบบกลไกการทำงานของเครื่อง Printer แบบ Ink Jet
- โครงสร้างภายในของหัวพิมพ์
- รายละเอียดกลไกการขับเคลื่อนหัวพิมพ์
- กลไกการ Lock CR
- รายละเอียดกลไกการป้อนกระดาษแบบเป็นลำดับขั้นตอน
- รายละเอียดกลไกการป้อนหมึก และระบบการพ่นหมึก
- รายละเอียดกลไก Capping
- รายละเอียดวงจรการขับสัญญาณไปที่หัวพิมพ์
- รายละเอียดการทำงานของวงจรขับเคลื่อน Motor แบบต่างๆ
- รายละเอียดวงจร ASF/Pump Motor Driver
- รายละเอียดวงจร Reset ของเครื่อง Printer ทุกรุ่น
- รายละเอียดวงจรควบคุมการทำงานของ EEPROM
- รายละเอียดของระบบ Sensor ต่างๆ สำหรับ Printer ทุกรุ่น
- วิธีการทำ Service Maintenance ของ Printer ทุกรุ่น
- จุดที่ต้องทำความสะอาดและหล่อลื่นในเครื่อง Printer ทุกรุ่น
- วิธีการถอดและเปลี่ยนอุปกรณ์ ต่างๆบนเครื่อง Printer ทุกรุ่น
- การตรวจซ่อมเครื่อง Printer Ink Jet/Desk Jet โดยแปลความหมายของ LED
- วิธีการใช้เครื่องมือตรวจวัด ค่าความต้านทางของ Motor ต่างๆ
- วิธีการใช้เครื่องมือตรวจวัด แรงดันไฟและสถานการณ์ทำงานบน Sensor ต่างๆ
- เงื่อนไขการเกิดความผิดพลาดต่างๆ และสาเหตุของการเกิด และวิธีการป้องกัน
- วิธีการแก้ปัญหากระดาษติดบนเครื่อง Printer ทุกรุ่น
- วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่หมึกพิมพ์ไม่ออก และข้อผิดพลาดของหมึกพิมพ์ต่างๆ
- วิธีการตรวจซ่อมอาการเสียที่รุนแรง เช่น หัวพิมพ์ไม่ขยับ และ Sensor ไม่ทำงาน
- วิธีการอ่าน Error Code และการแปลความหมาย
- วิธีการอ่านค่าและตีความหมายใน Error Message ของ HP Desk Jet
- วิธีการทำ Self-Test ของ Printer Ink Jet และ Desk Jet รุ่นต่างๆ
·
วิธีการปรับแต่งสีและหัวพิมพ์
หลักการทำงานและการตรวจซ่อมเครื่อง Pinter
Laser Jet รวมทั้ง Color Laser Printer
- ส่วนประกอบภายในเครื่อง Laser printer
- Transfer Roller
- ระบบ Formatter
- ระบบการกวาดแสง Laser เพื่อสร้างภาพ
- ระบบ Output Roller
- ระบบ Motor ที่ใช้ขับเคลื่อนลูก Drum และป้อนกระดาษ
- ระบบ Selenoids
- ระบบ Pickup Assembly
- ระบบทางเดินกระดาษของ Laser Jet รุ่นต่างๆ
- ระบบ Sensor ต่างๆ
- ระบบจ่ายไฟแบบ Switching และจ่ายไฟทั่วไปสำหรับ Roller
- วิธีการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆบน Laser Printer ของ HP
- จุดที่ต้องบำรุงรักษา ทำความสะอาด หล่อลื่นและ ถอดเปลี่ยน
- การเปลี่ยน Pickup Roller
- การถอดเปลี่ยน Printer Separation Pad
- การถอดเปลี่ยน Copier/Scanner Separation Pad
- การทำความสะอาด เส้นทางวิ่งเดินของกระดาษ
- การทำความสะอาดบริเวณ Toner Cartridge
- การทำความสะอาด Pickup Roller
- การทำความสะอาด Separation Pad
- การทำความสะอาดและปรับแต่ง Copier/Scanner
o การทำงานสะอาดบริเวณเส้นทางของการกวาดแสง
- การตรวจซ่อมเครื่อง Printer Laser
- วิธีการทำ Self-Test เครื่อง Printer รุ่นต่างๆ
- วิธีการอ่าน Error Code และ Message
- Message ประเภทแสงเตือนบน Control Panel
- Message ที่เกี่ยวข้องกับอาการเสียรุนแรง
- วิธีการตรวจสอบ Toner Cartridge
- วิธีการตรวจซ่อมและแก้ปัญหา คุณภาพและปัญหาการพิมพ์
- วิธีการตรวจซ่อมและแก้ปัญหาการป้อนกระดาษ
- วิธีการตรวจซ่อมและแก้ปัญหา Scanning Paper Feed
·
วิธีการตรวจสอบการทำงานของเครื่อง
Printer Laser
- วิธีการตรวจสอบการหมุนของ Drum
- วิธีการทดสอบระบบความร้อน
- วิธีการตรวจสอบระบบจ่ายไฟ
o วิธีการตรวจสอบระบบทางเดินของกระดาษ
- วิธีการ Reset ค่าใน NVRAM และทำ Cold Reset
![]() |

การดูแลรักษาเครื่องพริ๊นเตอร์


1. ควร
จะสั่งพิมพ์งานอย่างน้อยอาทิตย์ละ ครั้งเพื่อให้เครื่องพรินเตอร์ได้ทำงานบ้าง
หมั่นทำความสะอาดเครื่องพรินเตอร์ และหัวพิมพ์ประมาณ 2-3 อาทิตย์
ต่อครั้งเพื่อกำจัดฝุ่นละอองและผงที่ตกอยู่ในเครื่องพรินเตอร์ เพราะจะทำให้งานพิมพ์ที่ได้คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร
2. ปัญหางานพิมพ์เสียเพราะเครื่องพรินเตอร์แบบนี้มักมีสาเหตุมาจากหมึกพิมพ์แห้งเป็นคราบติดอยู่ภายในหัวพิมพ์หรือภายในท่อฉีดน้ำหมึก (Nozzle) แล้ว จึงกลายเป็นเหมือนตัวสกัดกั้นไม่ให้น้ำหมึกไปสัมผัสกับกระดาษ
การให้พรินเตอร์พิมพ์งานที่ใช้หมึกสีและหมึกดำทุก ๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อยจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คำแนะนำ คือ ควรเปิดเครื่องพรินเตอร์สัก 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เพื่อให้หัวพรินเตอร์ตรวจสอบความพร้อมของหมึกพรินเตอร์
หัวพรินเตอร์จะฉีดหมึกใหม่เข้าไปไล่หมึกเก่าเพื่อป้องกันการอุดตันของหมึก และควรทดสอบการพิมพ์
อย่างน้อยเดือน 1-2 ครั้ง เพื่อให้งานพิมพ์ออกมาดีอยู่เสมอ
*** สำหรับ
EPSON ไม่ควรสั่งล้างทำความสะอาดหัวพิมพ์ติดต่อกันหลายๆครั้ง ให้สั่งล้างเพียง
1-2 ครั้ง กรณีผลทดสอบการพิมพ์ (Nozzle Check) ยังไม่ปกติ ให้ปิดเครื่องพิมพ์พักไว้ประมาณ 20-30 นาที
แล้วจึงเปิดเครื่องและทดสอบการพิมพ์ใหม่อีกครั้ง หากพบว่ายังมีสีอุดตัน
ให้ปิดเครื่องทิ้งไว้ต่ออีก
การ สั่งทำความสะอาดหัวพิมพ์ติดต่อกันหลายๆครั้งไม่เป็นผลดีต่อหัวพิมพ์
และทำให้หมึกไหลย้อนกลับซึ่งทำให้เกิดปัญหากับหัวพิมพ์และมีสีเลอะเทอะ
3. หมั่นกำจัดเศษกระดาษและเศษฝุ่นผง
การทำความสะอาดด้วยการเป่าเศษผงและฝุ่นออกด้วยเครื่องเป่าลมธรรมดาๆ (ย้ำว่าเครื่องเป่าลม...หาใช่เครื่องเป่าผมแต่อย่างใด) จะช่วยให้เครื่องพรินเตอร์ของเราสามารถป้อนกระดาษได้อย่างไม่ติดขัดเพราะ
Roller ของมันสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกนั่นเอง
4. การทำความสะอาด Roller ที่ ใช้ดึงกระดาษ ควรนำกระดาษหนาๆ หรือกระดาษที่สามารถซับน้ำได้ดีแล้วฉีดผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสม
ของแอมโมเนียให้หมาดๆ จากนั้นก็ป้อนเข้าไปในพรินเตอร์ซ้ำๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นก็ป้อนกระดาษธรรมดาเข้าไป เพื่อซับให้แห้ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยล้างคราบหมึกและสิ่งสกปรกที่ติอยู่บนลูกกลิ้งกระดาษ
ได้แล้ว
5. ควร
ปิด-เปิดเครื่องพิมพ์ด้วยสวิตซ์
ดีกว่าถอดปลั๊กไฟ การปิด-เปิด เครื่องพิมพ์ควรทำที่สวิตซ์ของเครื่องเสมอ
เพราะ
เครื่องพิมพ์จะเก็บและทำความสะอาดหัวหมึกหลังจากกดสวิตซ์ปิดที่ตัวเครื่อง
ไม่ควรใช้ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตซ์ปลั๊กไฟเนื่องจากจะทำให้เครื่องพิมพ์เสีย
เร็วขึ้น
6. หมั่นอัพเดทไดรเวอร์และซอฟต์แวร์ของเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ
เพราะซอฟต์แวร์ (รวม ไปถึงไดรเวอร์) ใหม่ๆ จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเวอร์ชันก่อนๆ
และในบางครั้งก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอีกด้วย
7. ไม่ควรนำหมึกต่างยี่ห้อมาเติม แน่นอนว่าถึงจะพรินต์ได้ก็จริง
แต่จะทำให้ตลับหมึกอุดตันได้รวดเร็วขึ้น แถมหมึกเติมที่ไม่ได้คุณภาพอาจทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้อีกด้วย
8. ควรเปลี่ยนน้ำหมึก เมื่อมันเตือนว่าหมดหลายคนยังฝืนที่จะพิมพ์ต่อถึงแม้ว่าไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์จะขึ้นเตือนว่าหมึกหมดแล้วก็ตาม
อย่างเช่น ในกรณีที่หมึกสีหมดแต่ก็ยังจะฝืนพิมพ์งานขาว-ดำ ต่อ เพราะคิดว่าหมึกดำยังเหลือ
ไม่ได้ใช้หมึกสีก็ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงถึงแม้ว่าหมึกพิมพ์สีจะไม่ได้ใช้
แต่ความร้อนที่หัวพิมพ์ก็ยังคงมีอยู่ ยิ่งเมื่อเราฝืนพิมพ์จะทำให้ความร้อนที่หัวพิมพ์เพิ่มมากขึ้น
เพราะ ไม่มีน้ำหมึกมาหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจมีผลให้เครื่องพิมพ์เสียหายได้ สำหรับเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตรุ่นใหม่ๆ
จะป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ฝืนพิมพ์ต่อเมื่อหมึกสีใด สีหนึ่งหมด ด้วยการไม่รับงานพิมพ์ใดๆ
ทั้งสิ้น จนกว่าจะเปลี่ยนหมึกตลับใหม่
![]() |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น